เคลือบนาโน คืออะไร การเคลือบแต่ละชั้น เป็นอย่างไร มาหาคำตอบกัน

เคลือบนาโน เรามักได้ยินคำนี้จนคุ้นหูหรืออาจเคยได้ยินผ่านๆ หูมาบ้าง Nano coating คืออะไร มีข้อดีอย่างไรบ้าง และการเคลือบแต่ละชั้นเป็นอย่างไรเพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้นและไขข้อสงสัยทุกคำถาม บทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ สรุปมาให้ทุกคนเข้าใจแบบง่ายๆ แล้ว ถ้าอยากรู้ตามไปชมพร้อมๆ กันเลย

เคลือบนาโน คืออะไร

เคลือบนาโน (Nano coating) คือ อนุภาคสารประกอบเกิดจากกระบวนการสร้างแผ่นฟิล์มน้ำมันระหว่างโลหะ กับ โลหะ จะแทรกตัวเข้าไปเติมรอยแตกหรือรอยหยาบของผิวโลหะ เกิดการซ่อมแซมผิวโลหะ ทำให้เกิดสารประกอบใหม่ผิวเรียบมากกว่าเดิม จากเดิมการเสียดสีนั้นจะเกิดจากผิวคู่สัมผัส โลหะ กับ โลหะ เปลี่ยนมาเป็นสารประกอบโลหะ กับ สารประกอบโลหะแทนที่ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือทำให้แรงเสียดทานต่ำ

เคลือบนาโน มีข้อดีอย่างไร

ข้อดีที่เกิดขึ้นจากการเคลือบนาโนคือทำให้ไม่มีสารเคมีตกค้างในอากาศ ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ที่สำคัญการเคลือบนาโนช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ได้ การเคลือบนาโนแต่ละชั้นทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป

ชั้นที่ 1 กันสนิม

การเคลือบนาโนในชั้นที่ 1 ทำหน้าที่ป้องกันสนิมเป็นชั้นที่ติดกับเนื้อเหล็ก นอกจากทำหน้าที่กันสนิมแล้วยังรองพื้นให้สีในชั้นต่อๆ ไปอีกด้วย การเคลือบนาโนในชั้นนี้ ใช้เทคนิคเคลือบด้วยกระแสไฟสถิต  ความหนาประมาณ 20 ไมโครเมตร

ชั้นที่ 2 กันกระแทก

เคลือบนาโนในชั้นที่ 2 ช่วยป้องกันการกระแทกของก้อนหินที่อาจกระเด็นเข้ามาโดน นอกจากนั้นการเคลือบในชั้นนี้ยังทำให้ผิวของโลหะเรียบมากขึ้นอีกด้วย เคลือบนาโนในชั้นนี้เรียกว่า Filler มีความหนาประมาณ 25 ไมโครเมตรและมีส่วนผสมของสารละลายอินทรีย์

ชั้นที่ 3 ชั้นเม็ดสี

สำหรับชั้นที่ 3 เป็นชั้นเม็ดสีตามที่เราต้องการ เลือกแบบประกาย Metallic จะมีการผสมผงอะลูมิเนียมลงไปด้วยเพื่อให้เนื้อสีมีความประกาย

ชั้นที่ 4 ความมันเงา

ชั้นที่ 4 คือชั้นสุดท้ายจะเคลือบด้วยสารละลายสีใส คล้ายกับแล็กเกอร์ ความหนาประมาณ 40 ไมโครเมตร ทำให้เกิดความมันเงา สวยงาม ไม่ใช่แค่ความมันเงาแต่ยังช่วยป้องกันสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ แสงแดด และการกัดกร่อนของสารเคมีต่างๆ

เคลือบนาโน คืออะไร เคลือบนาโน มีข้อดีอย่างไร และการเคลือบนาโนในแต่ละชั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง ทุกคนคงหายสงสัยเพราะได้คำตอบแล้ว เคลือบนาโนถือเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัย เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้ ปัจจุบันนาโนเทคโนโลยีได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งจากนักวิจัยและภาคอุตสาหกรรม ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างคุณสมบัติที่พิเศษให้กับวัสดุต่างๆ ได้ทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพเคมี